วันศุกร์ที่ 21 มกราคม พ.ศ. 2554

นโยบายการเงิน

                                                                              










นโยบายการเงินคือ นโยบายที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือทางการเงิน ได้แก่ ปริมาณเงิน (Money supply) อัตราแลกเปลี่ยน (Exchange rate) และอัตราดอกเบี้ย (Interest rate) ทำโดยการปรับลด-เพิ่มปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจที่จะมีผลต่อการกำหนดทิศทางของอัตราแลกเปลี่ยนให้แข็งค่าหรืออ่อนค่า และการปรับลด-เพิ่มของอัตราดอกเบี้ย ซึ่งเป็นหน้าที่ของธนาคารกลาง หรือธนาคารแห่งประเทศไทยในการกำหนดทิศทางของการดำเนินนโยบายการเงิน
         
ทำไมต้องมีนโยบายการเงิน          เช่นเดียวกับธนาคารกลางทั่วโลกที่ต่างก็ดำเนินนโยบายการเงินโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อรักษาเสถียรภาพทางเศรษฐกิจ และสนับสนุนการขยายตัวทางเศรษฐกิจอย่างยั่งยืน กล่าวคือ ในยามที่เศรษฐกิจขาลง หรือตกต่ำ มีคนว่างงานจำนวนมาก การดำเนินนโยบายการเงินแบบขยายตัว ก็จะช่วยสนับสนุนให้เศรษฐกิจปรับตัวดีขึ้นได้ ขณะที่หากเกิดภาวะเงินเฟ้อสูง ๆ อันเนื่องมาจากขยายตัวของเศรษฐกิจที่สูงเกินไป จนการผลิตมีมากกว่าความต้องการบริโภคที่แท้จริง ซึ่งอาจส่งผลเสียต่อเศรษฐกิจได้ในอนาคต เพราะสินค้าที่ผลิตมากเกิน อาจจะขายไม่ออกในเวลาต่อมา นโยบายการเงินก็จะดำเนินไปในแนวทางที่ตึงตัวขึ้นหรือหดตัว เพื่อลดความร้อนแรงของภาวะเศรษฐกิจดังกล่าว
          นโยบายการเงินแบบขยายตัว (Expansionary monetary policy) สามารถทำได้หลายวิธีได้แก่
 
          • การเปลี่ยนแปลงอัตราเงินสดสำรองที่ต้องดำรง (Reserve ratio) ของธนาคารพาณิชย์ ซึ่งหมายถึง เงินฝากที่ธนาคารพาณิชย์ต้องฝากไว้กับธนาคารกลาง ซึ่งอาจกำหนดไว้ที่ร้อยละ 6 ซึ่งหมายถึงว่าหากธนาคารพาณิชย์รับเงินฝากจากประชาชนมา 100 บาท ธนาคารพาณิชย์จำเป็นต้องฝากเงินสดสำรอง (Required reserve) ไว้ที่ธนาคารกลาง 6 บาท และเหลือเงินสดสำรองส่วนเกิน (Excess reserve) เพื่อปล่อยกู้ หรือลงทุนแสวงหากำไรอีก 94 บาท เป็นต้น ซึ่งหากมีการปรับลดอัตราเงินสดสำรองเหลือร้อยละ 3 ก็จะทำให้ธนาคารพาณิชย์มีเงินสดสำรองส่วนเกินเพื่อปล่อยกู้ให้กับประชาชนเพิ่มขึ้นเป็น 97 บาท เป็นต้น (เป็นเพียงตัวอย่างเพื่อสร้างความเข้าใจง่ายๆ ซึ่งจริงๆ แล้ว เงินสดสำรองส่วนเกินดังกล่าวยังจะต้องผ่านกระบวนการสร้างเงินฝากของธนาคารพาณิชย์อีกกระบวนการหนึ่ง โดยจะได้กล่าวถึงโดยละเอียดในบทความต่อๆ ไป เมื่อมีโอกาส) ซึ่งเมื่อธนาคารพาณิชย์มีเงินสดสำรองส่วนเกินมากขึ้น และกลไกการปล่อยสินเชื่อทำได้เต็มที่ จะทำให้การบริโภคและการลงทุนปรับสูงขึ้น การจ้างงานก็ปรับสูงขึ้น และทำให้เศรษฐกิจโดยรวมขยายตัวได้          • การซื้อขายหลักทรัพย์ หรือพันธบัตรของธนาคารกลางกับภาคเอกชน (Open market operation) การดำเนินนโยบายการเงินแบบขยายตัว ธนาคารกลางจะซื้อหลักทรัพย์จากภาคเอกชน เพื่อปล่อยเม็ดเงินเข้าสู่ระบบเศรษฐกิจ ทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจมีมากขึ้น ซึ่งจะสนับสนุนให้เกิดการบริโภค การลงทุนและทำให้เศรษฐกิจขยายตัวต่อไป           การเปลี่ยนแปลงอัตราซื้อลด (Discount rate) คือ การเปลี่ยนแปลงอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ที่ธนาคารกลางคิดจากธนาคารพาณิชย์ การดำเนินนโยบายการเงินแบบขยายตัวจะทำโดยการปรับลดอัตราดอกเบี้ยเงินกู้ยืม ซึ่งจะมีผลทำให้เงินสดสำรองของธนาคารพาณิชย์เพิ่มขึ้น และทำให้ปริมาณเงินในระบบเศรษฐกิจเพิ่มขึ้น          • การขอความร่วมมือให้ธนาคารพาณิชย์ปฏิบัติตาม (Moral suasion) เช่น การขอให้ธนาคารพาณิชย์ปล่อยสินเชื่อให้กับกิจกรรมทางเศรษฐกิจบางประเภทที่มีความสำคัญ เช่น ธุรกิจขนาดกลางและขนาดเล็ก (SMEs) เป็นต้น          นโยบายการเงินแบบหดตัว (Contractionary monetary policy) ทำได้โดยการลดปริมาณเงิน ผ่านช่องทางการเพิ่มอัตราเงินสดสำรอง การขายหลักทรัพย์ให้แก่ภาคเอกชน และการเพิ่มอัตราซื้อลด ซึ่งจะเป็นการดูดเงินออกจากระบบเศรษฐกิจ ซึ่งธนาคารกลางมักจะเลือกทำในยามที่ประเมินว่าเศรษฐกิจอาจจะร้อนแรงเกินไปจนอาจเกิดผลเสียตามมาในภายหลัง เช่นในช่วงที่เกิดฟองสบู่ในตลาดที่อยู่อาศัย หรือในช่วงที่เกิดภาวะเงินเฟ้อสูงๆ ในประเทศ เป็นต้น 

แหล่งที่มา::www.Tsithailand.com

CSR กับสถาบันการเงินไทย

                                                             
ในประชาชาติฉบับวันที่ 22-24 มิถุนายน 2552 มีบทความ 2 บทเขียนถึงความรับผิดชอบ (ที่แท้) ของสถาบันการเงินไทย ซึ่งออกไปในทางชื่นชมการทำดีของสถาบันการเงินเป็นหลัก แต่ในเช้าวันอาทิตย์ที่ 19 กรกฎาคม 2552 ผมก็ได้พบข่าวพาดหัวหลักหน้าหนึ่งของกรุงเทพธุรกิจว่า “(ชื่อธนาคาร) ป่วนสหภาพฟ้อง” โดยมีโปรยหัวข่าวว่า “ พนักงาน 400 คนเดินขบวน – ไม่พอใจถูกสั่งโอนไปบริษัทลูก หวั่นกระทบสวัสดิการ อีกทั้งผู้บริหารขู่ปลดหากไม่ปฏิบัติตาม”

          ในฐานะที่ผมเกี่ยวข้องกับสถาบันการเงินโดยเป็นกรรมการที่ปรึกษาสมาคมสินเชื่อที่อยู่อาศัยมานับสิบปีจนถึงปัจจุบัน เป็นผู้ประเมินค่าทรัพย์สินให้กับสถาบันการเงินทุกแห่ง และสอนการเงินเคหะการของสถาบันอุดมศึกษาทั้งในและต่างประเทศ ผมขออนุญาตให้ความเห็น (ต่าง) ต่อบทความดังอ้าง

          การเห็นต่างนั้น พึงถือเป็นเรื่องดีเพื่อให้เกิดบรรยากาศการอภิปราย เพื่อร่วมกันสร้าง ‘สังคมอุดมปัญญา’ จากมุมมองที่หลากหลาย ผู้สนใจย่อมได้เลือกคิด เลือกใช้ได้ตามวิจารณญาณโดยเสรี

          ประเด็นสำคัญคือเรื่องสิ่งแวดล้อมและพลังงานทางเลือกนั้น แทบไม่ได้เกี่ยวกับธนาคาร ซึ่งเป็นธุรกิจบริการ ผิดกับโรงงานที่มีโอกาสทำลายสิ่งแวดล้อมมากกว่า แม้ทุกฝ่ายควรทำดีด้วยการประหยัดพลังงานหรือร่วมมือกันสร้างสรรค์สิ่งแวดล้อมที่ดี แต่กิจกรรมดังว่าก็ไม่ได้แสดงถึงความรับผิดชอบโดยตรงของธนาคาร และไม่ได้มีผลต่อการพัฒนาอย่างยั่งยืนสำหรับธนาคารหรือ Sustainable Banking อย่างแท้จริง

          ที่ผ่านมาธนาคารในยุโรปที่มีชื่อเสียงด้านการพัฒนาอย่างยั่งยืนนั้นเจ๊งไปหลายแห่งแล้ว มีอยู่แห่งหนึ่งเป็นธนาคารขนาดใหญ่ในสก็อตแลนด์ ธนาคารดังกล่าวมักป่าวประกาศว่าตนเองสุดโดดเด่นด้าน CSR เพราะมุ่งอำนวยสินเชื่อให้เฉพาะวิสาหกิจที่ไม่ทำลายสิ่งแวดล้อม แต่เมื่อต้นปี 2552 นี้เอง ธนาคารดังกล่าวต้องเข้ารับการฟื้นฟูเพราะการบริหารผิดพลาดและเรื่องอื้อฉาวของผู้บริหาร นี่แสดงให้เห็นว่าการ “ลูบหน้าปะจมูก” ทำดีโดยอ้างว่าตนมี CSR นั้น ช่วยอะไรไม่ได้เลย หากขาดความรับผิดชอบอย่างแท้จริงต่อธุรกิจของตนเอง

          วิกฤติการเงินของสหรัฐอเมริกานั้น เกิดจากการขาดความรับผิดชอบของธนาคาร จากผลการประชุมของกลุ่มประเทศชั้นนำที่เรียกว่า G20 พบข้อสรุปว่า ในอนาคตวิกฤติจะป้องกันได้ก็ต่อเมื่อธนาคารมีความโปร่งใส มีความสุจริต และมีกฎระเบียบที่ดีขึ้น ซึ่งก็แสดงว่าที่ผ่านมาธนาคารเหล่านี้อาศัยแต่ชื่อเสียงจอมปลอมไปปั่นเงินจนเศรษฐกิจโลกเสียหายมหาศาล กิจกรรม CSR ของธนาคารเหล่านี้จึงกลายเป็นเพียงเครื่องมือที่มีไว้ปกปิดอาชญากรรมและอาชญากรที่เกิดจากความฟอนเฟะของตนนั่นเอง
          เรามาลองดูว่าธนาคารไทยในอดีต ขาด Sustainable Banking โดยพิจารณาจากข่าวพาดหัวของหนังสือพิมพ์ ดังต่อไปนี้:

4 กองปราบฯ ดำเนินคดีหนุ่ม (ชื่อธนาคาร) โกง 400 ล้านฐานร่วมกันฟอกเงิน

          8 พนักงาน (ชื่อธนาคาร) โกงเงินลูกค้าเกือบ 3 ล้านบาท

          12 คดีตัวอย่างคนแบงก์ โกงลูกค้าจำคุก 492 ปี

          14 ผช.ผจก.สาว (ชื่อธนาคาร) โกง 200 ล้าน - ตร.ประกาศจับทั่วประเทศ

          16 “(ชื่อนายธนาคาร)” ติดคุกโกง (ชื่อธนาคาร) อีกคดีรวม 70 ปี

          22 เชือดบิ๊ก (ชื่อนายธนาคาร) ปปช. ลงดาบโกง 600 ล้าน ปล่อยกู้สูงเกินจริง ฟันฉับวินัย-อาญา

          25 (ชื่อธนาคาร) เตรียมขึ้นแท่นอันดับ 2 บี้เพิ่มค่าต๋ง – รีดพนักงานเครียด

          28 แบงก์รีดลูกค้า! ขึ้นค่าดูแลบัญชี

          เราคงเคยได้ยินว่า ในอดีตที่ผ่านมา ธนาคารหลายแห่งเจ๊งไปเพราะการปล่อยกู้อย่างขาดความรับผิดชอบให้เครือญาติโดยขาดหลักทรัพย์ค้ำประกันที่เพียงพอ ธนาคารหลายแห่งขโมยโครงการที่มีแนวคิดการตลาดดี ๆ ไปทำเสียเอง หรือกว่าจะกู้เงินได้ ก็ต้องจ่ายเบี้ยบ้ายรายทางให้เจ้าหน้าที่ฝ่ายสินเชื่อ ผู้จัดการสาขา และผู้จัดการเขต เป็นต้น

          ในอดีตผู้บริหารธนาคารบางแห่ง บ้างก็โกงธนาคารของตนเอง จัดตั้งบริษัทลูกมาให้บริการแก่บริษัทแม่ที่เป็นธนาคารโดยไม่มีแข่งขันอย่างเท่าเทียมทำให้ผู้ถือหุ้นเสียหาย ผู้ใช้บริการต้องเสียประโยชน์ หรือผู้บริหารใช้จ่ายเงินของธนาคารไปอย่างฟุ่มเฟือยเพื่อบำรุงความสุขสบายของตน เป็นต้น

          ธนาคารหลายแห่งเป็นผู้อุปถัมภ์งานอนุรักษ์มรดกวัฒนธรรมต่าง ๆ มากมาย แต่กลับขูดรีดบีบคั้นแรงงานกับพนักงานอย่างรุนแรง และการปรับเพิ่มเงินเดือนก็ต้องอาศัยการเรียกร้องอย่างเอาเป็นเอาตายของพนักงาน กรณีเช่นนี้เป็นภาพที่ขัดแย้งกันเองอย่างชัดแจ้ง

          ธนาคารที่มีความรับผิดชอบต่อสังคมเพื่อให้ตนมีความยั่งยืนนั้น ต้องเริ่มที่การ ‘กวาดบ้าน’ ตัวเองก่อน ปิดโอกาสทุจริต ด้วยการสร้างระบบตรวจสอบที่ดีและโปร่งใส และสามารถสร้างความมั่นใจแก่ลูกค้า เพราะการรับผิดชอบต่อลูกค้ามีความสำคัญอันดับแรก ไม่ว่าจะเป็นลูกค้าที่มาฝากเงินหรือที่มากู้เงิน

          นอกจากนี้ยังรวมถึงการจัดการบุคลากร ด้วยการฝึกอบรม การทดสอบ การให้ขวัญและกำลังใจที่เพียงพอที่จะปิดเงื่อนไขความเสี่ยงต่อการทุจริต ทั้งนี้ถือเป็นการสร้างมาตรฐานและจรรยาบรรณ (Soft Laws) ของนักการธนาคารหรือนักวิชาชีพ ที่สังคมจะยังความมั่นใจแก่ระบบการจัดการบุคลากรของสถาบันการเงินได้

          และเมื่อมีระบบและการจัดการบุคลากรที่ดีแล้ว ธนาคารใดจะไปบำเพ็ญประโยชน์แก่สังคมก็ค่อยว่ากันไปตามความเหมาะสม ธนาคารพาณิชย์ทั้งระบบมีรายได้รวม 604,771 ล้านบาท กำไรสุทธิ 98,896 ล้านบาทในปี 2551 ถ้าแต่ละธนาคารบริจาคเป็นเงิน 2.6% ของรายได้ เช่นที่ประชาชนทั่วไปบริจาคกันตามข้อมูลของสำนักงานสถิติแห่งชาติ ป่านนี้บ้านเมืองคงเจริญขึ้นอย่างผิดหูผิดตาแล้ว แต่ในความเป็นจริงธนาคารคงไม่ได้บริจาคมากมายนัก ดังนั้นโภคผลจริงที่ธนาคารช่วยเหลือสังคม จึงมีไม่มากนัก

          ยิ่งกว่านั้นธนาคารพาณิชย์ในประเทศไทย เป็นกิจการกึ่งผูกขาดที่มีผู้แข่งขันน้อย ทำให้ผู้ใช้บริการซึ่งเป็นประชาชนทั่วไปเสียเปรียบ จะสังเกตได้ว่า อัตราดอกเบี้ยเงินฝากต่ำ ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยเงินกู้สูงมาก ถ้ามีการแข่งขันที่สมบูรณ์ภายใต้การควบคุมระบบการโกงที่ดี ผลประโยชน์มหาศาลย่อมจะตกแก่สังคมมากเสียกว่าที่ธนาคารเจียดเงินเล็ก ๆ น้อย ๆ มาบำเพ็ญประโยชน์เสียอีก ดังนั้นหากธนาคารใด สามารถบริหารดีจนกระทั่งให้ประโยชน์ต่อผู้บริโภคมากกว่า คาดว่าธนาคารดังกล่าวย่อมได้รับการต้อนรับจากผู้ใช้บริการมาก ทำให้กิจการเติบโตสวนกระแสเศรษฐกิจในขณะนี้ได้

          ประเด็นสุดท้ายที่พึงพิจารณาก็คือ วิสาหกิจจะไม่โกง ก็ต่อเมื่อผู้บริหารไม่มีพฤติกรรมเสี่ยง อย่างที่เรียกว่า ‘หัวไม่ส่าย หางก็ไม่กระดิก’ เป็นต้น ดังนั้นผู้บริหารระดับสูงของสถาบันการเงินจะต้องเป็นผู้นำการเปลี่ยนแปลง เป็นบุคคลที่สามารถตรวจสอบได้ และพร้อมที่จะรับผิดชอบหากเกิดกรณีการโกงภายในธนาคาร

          โดยสรุปแล้ว ธนาคารที่จะมีความยั่งยืนได้ ต้องประกวดประชันให้สังคมประจักษ์ว่า ตนเองมีระบบตรวจสอบที่ดีว่าเงินทองไม่รั่วไหล มีต้นทุนค่าบริการที่ต่ำกว่าจนสามารถให้บริการลูกค้าได้ถูกกว่า มีพนักงานที่มีจิตใจบริการ (Service Mind) อย่างเด่นชัดกว่าเป็นสำคัญ เมื่อธนาคารมีความยั่งยืนเพราะคุณภาพ ก็จะช่วยพัฒนาสังคมให้ยั่งยืนต่อไป


ถ้ามีระบบและการควบคุมระบบที่ดี สถาบันการเงินหรือสถาบันใด ๆ ก็จะดำรงอยู่อย่างยั่งยืน โดยไม่ต้อง ‘อมพระมาพูด’ แต่อย่างใด

* ดร.โสภณ พรโชคชัย เป็นผู้ประเมินค่าทรัพย์สินและนักวิจัยด้านอสังหาริมทรัพย์ในประเทศไทยและภูมิภาคอาเซียน ขณะนี้เป็นประธานกรรมการ มูลนิธิประเมินค่าทรัพย์สินแห่งประเทศไทย (www.thaiappraisal.org) ผู้เขียนหนังสือ ‘CSR ที่แท้’ ซึ่งอ่านได้ฟรีที่ http://csr.igetweb.com และยังเป็นกรรมการหอการค้าสาขาเศรษฐกิจพอเพียง และสาขาอสังหาริมทรัพย์ และกรรมการสภาที่ปรึกษาของ Appraisal Foundation ซึ่งเป็นหน่วยงานควบคุมวิชาชีพประเมินค่าทรัพย์สินในสหรัฐอเมริกาที่แต่งตั้งขึ้นโดยสภาคองเกรส
แหล่งที่มา:: Email: sopon@thaiappraisal.org

อัตราดอกเบี้ยที่ปราสจากความเสี่ยง


อัตราดอกเบี้ยความเสี่ยงทางทฤษฎี อัตราผลตอบแทน ของการลงทุนรวมทั้งมีศูนย์ความเสี่ยง ความเสี่ยงค่าเริ่มต้น . The risk-free rate represents the interest that an investor would expect from an absolutely risk-free investment over a given period of time. [ 1 ] Therefore, a rational investor will reject all the investments yielding sub-risk-free returns. ปราศจากความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยเป็นครั้งที่นักลงทุนคาดหวังว่าฟรีอย่างมีความเสี่ยงจากการลงทุนที่กำหนดตามระยะเวลาของ [1] ดังนั้น นักลงทุนมีเหตุผล จะปฏิเสธเงินลงทุนทั้งหมดให้ผลผลิตที่มีความเสี่ยงฟรีส่งกลับย่อย
แม้ว่าไม่มีความเสี่ยงของสินทรัพย์อย่างแท้จริงมีอยู่เพียงในทฤษฎีในทางปฏิบัติมากที่สุดและนักวิชาการผู้เชี่ยวชาญด้านการใช้งานสั้นลงวันที่รัฐบาล พันธบัตร ของสกุลเงินในคำถาม For USD investments, usually US Treasury bills are used, while a common choice for EUR investments are German government bills or Euribor rates. สำหรับเงินลงทุน USD, มักจะ ซื้อคืนตั๋วเงินสหรัฐอเมริกา มีการใช้ร่วมกันในขณะที่ทางเลือกสำหรับการลงทุนยูโรเป็น ตั๋วเงินรัฐบาลเยอรมัน หรือ Euribor อัตรา The mean real interest rate of US treasury bills during the 20th century was 0.9% pa (Corresponding figures for Germany are inapplicable due to hyperinflation during the 1920s.) [ 2 ] หมายถึง อัตราดอกเบี้ยที่แท้จริง ของสหรัฐฯตั๋วเงินคลังในช่วงศตวรรษที่ 20 เป็น 0.9% ต่อปี (ตัวเลขที่เกี่ยวข้องสำหรับเยอรมนีจะใช้ไม่ได้เนื่องจากในช่วงปี ค.ศ. 1920 hyperinflation.) [2]
These securities are considered to be risk-free because the likelihood of these governments defaulting is perceived to be extremely low and because the short maturity of the bill protects the investor from interest-rate risk that is present in all fixed rate bonds (if interest rates go up soon after the bill is purchased, the investor will miss out on a fairly small amount of interest before the bill matures and can be reinvested at the new interest rate). หลักทรัพย์เหล่านี้ถือเป็นความเสี่ยงที่ปราศจากความน่าจะเป็นเพราะรัฐบาลเหล่านี้ของ ผิดนัด เป็นที่รับรู้จะต่ำมากเพราะสั้นและ ระยะเวลา การเรียกเก็บเงินช่วยปกป้องนักลงทุนมีความเสี่ยงจากอัตราดอกเบี้ยที่มีอยู่ในทุก พันธบัตรอัตราดอกเบี้ยคงที่ (ถ้าอัตราดอกเบี้ย ขึ้นทันทีหลังจากที่เรียกเก็บเงินจะซื้อนักลงทุนจะพลาดโอกาสในปริมาณค่อนข้างเล็กของ ดอกเบี้ย ก่อนที่จะเรียกเก็บเงิน matures และสามารถนำกลับไปลงทุนที่อัตราดอกเบี้ยใหม่)
Since this interest rate can be obtained with no risk, it is implied that any additional risk taken by an investor should be rewarded with an interest rate higher than the risk-free rate (on an after-tax basis, which may be achieved with preferential tax treatment; some local government US bonds give below the risk-free rate). เนื่องจากอัตราดอกเบี้ยนี้สามารถรับกับความเสี่ยงที่ไม่เป็นที่ใด ๆ โดยนัยความเสี่ยงเพิ่มเติมที่ถ่ายโดยนักลงทุนควรได้รับการตอบแทนด้วยอัตราดอกเบี้ยสูงกว่าอัตราความเสี่ยงฟรี (เมื่อตามหลังหักภาษีซึ่งอาจจะประสบความสำเร็จกับการให้สิทธิพิเศษ การรักษาภาษีบางพันธบัตรรัฐบาลสหรัฐในประเทศให้ต่ำกว่าอัตราความเสี่ยงฟรี)
แหล่งที่มา::www.Tsi-Thailand.com

การลงทุนในตลาดหลักทรัพย์


1. สินค้าของตลาดหลักทรัพย์ฯ เรียกโดยรวมว่า “ตราสารการลงทุน” ได้แก่ หุ้นสามัญ หุ้นบุริมสิทธิ หุ้นกู้ หุ้นกู้แปลงสภาพใบสำคัญแสดงสิทธิประเภทต่าง ๆ หน่วยลงทุน และพันธบัตร
2. บัญชีซื้อขายหลักทรัพย์ มีทั้งบัญชีเงินสด (Cash Account) และบัญชีให้กู้ยืมเงินเพื่อซื้อหลักทรัพย์ หรือบัญชีมาร์จิน (Margin Account) หรือเครดิตบาลานซ์ (Credit Balance)
3. ตลาดหลักทรัพย์ฯ เปิดทำการเช่นเดียวกับวันทำการของธนาคาร โดยแบ่งช่วงเวลาซื้อขายหลักทรัพย์ออกเป็น 2 ช่วงคือ รอบแรก ตั้งแต่เวลาเปิดที่ได้จากการสุ่มเลือกเวลา ช่วง 9.55-10.00 น. จนปิดตลาดช่วงเช้าเวลา 12.30 น. และรอบที่สอง ภาคบ่ายตั้งแต่เวลาเปิดที่ได้จากการสุ่มเลือกเวลาในช่วง 14.25-14.30 น. จนถึงปิดตลาดประจำวันที่ได้จากการสุ่มเลือกเวลาในช่วง 16.35-16.40 น. จนถึงปิดตลาดประจำวันที่ได้จากการสุ่มเลือกเวลาในช่วง 16.35-16.40 น. อย่างไรก็ตาม ตลาดหลักทรัพย์ฯได้เปิดให้มีการซื้อขายหลักทรัพย์นอกเวลาเพิ่มอีกประมาณ 20-25 นาที นับตั้งแต่เวลาปิดตลาดประจำวัน จนถึงเวลา 17.00 น.
4. ผู้ลงทุนสามารถส่งคำสั่งซื้อขายหลักทรัพย์ ได้ 3 วิธี คือ ส่งคำสั่งด้วยตัวเอง ณ ห้องค้าหลักทรัพย์ ส่งคำสั่งทางโทรศัพท์โดยมีรหัสส่วนตัว และส่งคำสั่งผ่านทางอินเทอร์เน็ต โดยมีรหัสลูกค้า ( User Name) และรหัสผ่าน (Password)
5. ในการส่งคำซื้อขายหลักทรัพย์ ผู้ลงทุนจะต้องดูชื่อหลักทรัพย์จำนวนหน่วยที่ซื้อขาย ช่วงและระดับราคาสูงสุด ต่ำสุดให้ถูกต้อง และทบทวนคำสั่งให้ละเอียดชัดเจนทุกครั้ง
แหล่งที่มา::หนังสือพิมพ์ผู้จัดการ

การเงิน

                                                             
ความสำคัญของโครงสร้างเงินทุนถูกแยกออกโดยการเปรียบเทียบของแม่พิมพ์ที่มีอยู่เดิมของระบบการเงินผ่านไปยังระบบการใช้งานใหม่ ความแตกต่างของ Cost of Capital ในบริษัทต่างๆ แสดงว่าโครงสร้างเงินทุนนั้นเกี่ยวกับ R&D (สำรวจและพัฒนา) และการตัดสินใจลงทุนต่างๆ สรุปความว่า
1. ความแตกต่างของการทำงานระหว่างประเทศ มีทั้งที่คาดคะเนได้และไม่ได้นั้นเป็นตัวกำหนดโครงสร้างเงินขั้นต่ำ (ขั้นที่คุ้มทุนที่สุด)

2. Leverage ที่คอยสังเกตอยู่บ่อยครั้งจะคลาดเคลื่อนกับ Equity (Stack) และ DEBT ที่ตั้งค่าไว้ และยังจะส่งอิทธิพลต่อตลาด

3. ความเร็วที่มากขึ้นที่ส่งผลต่อเป้าหมาย คือการสังเกตในระบบ Equity-Based ซึ่งสามารถกำหนดความยืดหยุ่นได้มากขึ้น
ระบบการเงิน
ประสิทธิภาพของระบบการเงินที่จะจัดแบ่งใหม่ของแหล่งทรัพยากรไปยังสภาพเศรษฐกิจที่มีอำนาจการผลิตสูงของอุตสาหกรรม, บริษัท หรือโครงการ บ่อยครั้งจะถูกพิจารณาเป็นแรงผลักดันที่สำคัญสู่การเปลี่ยนแปลงทางเทคโนโลยี, นวัตกรรม, การเคลื่อนไหว และการเจริญเติบโตของอุตสาหกรรม สำหรับการเริ่มการให้บนทางเชื่อมระหว่างการให้บริการทางเงินที่มีประสิทธิภาพ เทคโนโลยีและการเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ ถ้ามีข้อมูลเกี่ยวกับโอกาสในอนาคตของ R&D หรืออุปกรณ์เกี่ยวกับการลงทุนที่ส่งผลต่อราคาของ Securities ต่างๆ ขบวนการจัดสรรสามารถให้ประโยชน์สูงสุดและทางเลือกของบริษัทระหว่างหนี้และ Equity Financing นั้นไม่สมเหตุสมผลกับข้อตกลงกับ Modigliani and Miller (1958) อย่างไรก็ตาม ตัวเนื้อหาอย่างขยายความของทฤษฎีได้ทำให้เชื่อใจโดยการแสดงถึงสภาวะล้มเหลวจากเหตุการณ์ก่อนหน้านี้ในทรัพย์สินที่จับต้องไม่ได้ เช่น R&D และความสมดุลของการปกป้องความรู้ของ Security Prices จากการถูกจับต้องได้
ถ้าความล้มเหลวของตลาดผลักดันการเปลี่ยนแปลงของแหล่งที่มาต่างๆ ของโอกาสการเจริญเติบโตทางการเงิน คำอธิบายถึงโครงสร้างเงินทุนที่ทำให้บริษัทมีค่ามากที่สุดเป็นเรื่องสำคัญและส่งผลกระทบถึงโอกาสการเจริญเติบโตจากจุดเล็กในเศรษฐกิจไปจนถึงจุดใหญ่ วัตถุประสงค์ในที่นี้คือการสำรวจความสัมพันธ์ของโครงสร้างเงินทุน โดยการเปรียบเทียบกับต้นแบบที่มีอยู่ของระบบทางการเงินไปถึงกระบวนการใช้แบบใหม่
ในปัจจุบันอเมริกาและอังกฤษคือตัวอย่างที่ดีที่สุดจากการสังเกตในระบบ ARM’S LENGTH  SYSTEMS (ถือ Equity หรือตลาดเป็นสำคัญ) ในขณะที่สวีเดน หรือการเอาหนี้และธนาคาร (เป็นหลักสำคัญ) ใน ARM’S LENGTH  SYSTEMS เป็นรูปแบบที่มีอิทธิพลต่อการลงทุนทางการเงิน ได้แก่ พันธบัตร, หุ้น และรายได้ หลังหักค่าใช้จ่าย เงินกู้จากธนาคารใช้เฉพาะช่วงเวลาสั้นๆ เท่านั้น ความแตกต่างระหว่าง Relation Based Systems ถูกจัดโดยเงินกู้จากธนาคารระยะยาวคือแหล่งเงินทุน ความสัมพันธ์ระหว่างธนาคารใดธนาคารหนังกับบริษัทต่างๆ นั้น เท่านั้น เป็นความสัมพันธ์ระยะยาวและในความสัมพันธ์นั้น ความเสี่ยงของธนาคารลดลงเพราะระดับความรู้ของบริษัทที่มีโอกาสในอนาคตเมื่อเปรียบเทียบระหว่างสวีเดนกับอังกฤษ และอเมริกา แสดงให้เห็นว่าอังกฤษและอเมริกามี Equity Financing มากกว่าสวีเดนถึง 50-100% ขึ้นอยู่รูปแบบการประเมินในขณะที่สัดส่วนของหนี้ต่อการขายในสวีเดนนั้นมีมากที่สุด
ผลจากการสังเกตนั้นอ้างอิงมาจากกลุ่มข้อมูลของบริษัท จดทะเบียนในตลาดหุ้นสตอร์กโฮมปี 1991-1998 ปัจจัยปกติกำหนดโครงสร้างเงินทุนในบทความงานวิจัยนั้นไม่มีตัวตนและผลของ Regression นั้นถูกต้องเปรียบเทียบกับงานวิจัย 2 ชิ้นก่อนหน้านี้ (สำหรับบริษัทในอเมริกาและอังกฤษ และบริษัทที่ไม่ได้อยู่ในตลาดหุ้นของสวีเดน) ซึ่งใช้เทคนิคทางสถิติและคณิตศาสตร์เพื่อทดสอบทฤษฎีทางเศรษฐศาสตร์ (Econometric) และกลุ่มข้อมูลใกล้เคียงกัน
จากการสังเกตการเข้าถึง คือ ความไม่อยู่นิ่งอย่างเฉพาะเจาะจงซึ่งอนุญาตสำหรับการปรับเปลี่ยนโครงสร้างเงินทุนในเวลาต่างๆ ความผันผ่านของเวลาในการปรับเปลี่ยนนั้นไม่เหมือนกับการเข้าถึง (Approach) อย่างธรรมดาทั่วไปในการวิจัยเกี่ยวกับโครงสร้างเงินทุน ข้อได้เปรียบของรูปแบบที่ใช้คือมีความเป็นไปได้ที่จะแสดงตัวปัจจัยชี้ขาดของผลลัพธ์สุดสุดมากกว่าการเฝ้าสังเกตโครงสร้างเงินทุน ถ้าบริษัทมีโครงสร้างเงินทุนที่ไม่ใช่ที่ตั้งค่าไว้ (ซึ่งเป็นเรื่องปกติแต่มักไม่มีเป็นที่ยอมรับ) และถ้าปรับเปลี่ยนโครงสร้างเงินทุนอย่างช้าๆ จะสามารถตีความได้ว่าการชี้เฉพาะเจาะจงว่าความพยายามใดๆ ที่จะให้จุดที่น่าพอใจมากที่สุดนั้นเกี่ยวพันกับผลกำไรและราคา (ราคาภายนอกของเงินทุน = Cost of External Capital) ความแตกต่างของ Cost of External Capital แสดงให้เห็นว่าโครงสร้างเงินทุนนั้นเกี่ยวข้องและสงผลสร้างการตัดสินใจในการลงทุน
รายงานฉบับนี้ คือ ก้าวแรกสู่การปิดกั้นช่องว่างในการวิเคราะห์ของเส้นทางทั้ง 3 ทางของบทความใน R&D (Research & Development) และความเปลี่ยนแปลงด้าน Technology ซึ่งเป็นสาเหตุของความไม่สมบูรณ์แบบในตลาดเงินทุน ความเกี่ยวพันระหว่างระบบการเงินและการเจริญเติบโตรวมถึงปัจจัยชี้ขาดของโครงสร้างเงินทุนของบริษัท
โฟกัสในความไม่ลงรอยกันระหว่างการสังเกตและจุดที่น่าข้องใจที่สุดของโครงสร้างเงินทุน สิ่งที่เห็นหลักๆ คือ การใช้งานของโครงสร้างเงินทุนที่ไม่หยุดนิ่ง ซึ่งจุดที่น่าพอใจที่สุด รวมถึงความเร็วที่ระดับที่สังเกตปรับตัวตามเป้าหมาย ซึ่งจะถูกกำหนดในลักษณะของบริษัทสิ่งที่ให้อีกอย่างคือ การเปรียบเทียบข้อมูลและความมั่นคงของผลลัพธ์ที่ได้มาจากประเทศต่างๆ และระบบการเงินที่ใช้วิธีการเดียวกัน
ความหมายหลักๆ คือ หนึ่งสังเกต Leverage ถ้าบ่อยครั้งแตกต่างกันจากเป้าหมายในทั้งในระบบ Equity และ Debt-Dominated
สอง มีความแตกต่างระหว่างประเทศอย่างมากมาย ที่จะเป็นตัวกำหนดโครงสร้างเงินทุนที่น่าพอใจที่สุด
สาม บริษัทในสวีเดนและอังกฤษหักเหมากจากจุดที่น่าพอใจของบริษัทในอเมริกา
สี่ ความเร็วที่มากขึ้นสู่เป้าหมาย สามารถสังเกตได้จาก Equity-Based System
ห้า ความเหมือนกันสามารถพบได้ทั้งในบริษัทขนาดเล็กและใหญ่ในสวีเดนเมื่อราคา Leverage ในตลาดสำหรับบริษัทในตลาดหุ้นเมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทนอกตลาดหุ้น
การทดสอบความอ่อนไหวแสดงว่าพลังในการอธิบายของรูปแบบเพิ่มขึ้นอย่างมากเมื่อ Cost of Adjustment นั้นรวมตัวอยู่ในรูปแบบที่กำหนด
SECTION 2 : ที่มาของทฤษฎีและความสำคัญของหลักฐานที่แสดงอยู่ในตลาดที่ไม่สมบูรณ์
SECTION 3 : บรรยายข้อมูลและการใช้งานต่างๆ
SECTION 4 : รูปแบบของโครงสร้างเงินทุน
SECTION 5 : ผลลัพธ์
SECTION 6 : บทสรุปและคำจำกัดความ
CONCLUSION
ในรายงานนี้ ได้ตรวจสอบว่าบริษัทในระบบการเงินต่างๆ นั้นมีตัวแปรของโครงสร้างเงินทุนที่เหมือนกันในที่นี้ใช้ Methodological Approach ที่เพิ่งถูกคิดค้นขึ้นมานำมาประเมินข้อจำกัดและข้ออนุญาตในการปรับแต่งโครงสร้างเงินทุน
ผลการวิเคราะห์แสดงถึงความไม่คาดคิดที่มีมากของการทำงานและความแตกต่างข้ามประเทศในการตัดสินใจหรือกำหนดโครงสร้างเงินทุน ความเหมือนกันของอังกฤษและอเมริกาจะคำนึงถึง Equity-Based Dominated และการจัดการขนาดต่างๆ ของตลาดการเงินไม่ได้ส่งผลกระทบในรูแบบและการกำหนดโครงสร้างเงินทุน อย่างไรก็ตามเมื่อเปรียบระหว่างสวีเดนและอเมริการายงานฉบับนี้ได้จัดหาหลักฐานว่าขนาดของราคาการเงิน Supply ของ Equity และระบบที่แตกต่างของการเก็บภาษีให้ผลที่แตกต่างออกไปในพฤติกรรมเกี่ยวกับการทำให้โครงสร้างเงินทุนมีจุดที่คุ้มทุนและน่าพอใจที่สุด
แม้ว่าบริษัทต่างๆ บ่อยครั้งจะไม่ได้ตกเป็นเป้าหมาย แต่การเบี่ยงเบนนั้นน้อยมากสำหรับบริษัทที่ขั้นอยู่กับ Equity มากๆ ของอเมริกา บริษัทเหล่านี้ก็ปรับตัวเร็วขึ้นเพื่อเข้าสู่โครงสร้างที่น่าพอใจที่สุดเมื่อเปรียบเทียบกับบริษัทที่ขึ้นอยู่กับหนี้ในสวีเดน
สำหรับบริษัททั้งสองแบบในสวีเดนที่ถูกพิจารณา ส่วนใหญ่จะถูกจดทะเบียนในตลาดหุ้นโครงสร้าง อย่างเช่น Security และภาษี (เนื่องจากการลดลงของอัตราดอกเบี้ยเป็นค่าใช้จ่าย) ถูกพบว่าเป็นตัวการสำคัญที่ทำให้ Leverage เพิ่มขึ้น ในทางกลับกันที่น่าแปลกใจเหตุผลที่สำคัญที่สุดของ Leverage ที่ถูกปรับตัวขึ้นในอเมริกา คือ โอกาสและความเป็นเอกลักษณ์ที่มีมาก แค่นี้ก็สามารถอธิบายถึงกฎข้อบังคับของการเงินในยุค 1990 ที่สนับสนุนบริษัทที่มี Leverage ต่ำๆ ที่มีอนาคตเติบโตที่จะให้กู้ยืม ในการแข่งขันกับธนาคารต่างๆ ความรู้ที่ได้มาจากคนวงในเกี่ยวกับค่าของหุ้นที่มีอยู่นั้นก็มีบทบาทสำคัญเช่นกัน นอกจากนี้ลางที่ดีของโอกาสการเจริญเติบโตและความเป็นเอกลักษณ์ในอเมริกานั้นจะเป็นตัวชี้ถึงสัญญาณที่แข็งแกร่งของโครงสร้างที่จับต้องไม่ได้อย่าง R&D และความรู้
จุดประสงค์ที่สำคัญของรายงานนี้ คือ การสำรวจประสิทธิภาพของระบบการเงินที่ถูกเปลี่ยนแปลงจากเงินออมทรัพย์เป็นการลงทุนเพื่อการเปลี่ยนแปลงสำหรับเทคโนโลยี กำไรและการเจริญเติบโต บทความได้เน้นถึงความสำคัญของอนาคตการลงทุนในแง่มุมนี้ ไม่น่าแปลกใจที่ความคิดใหม่ดูเหมือนง่ายขึ้นเมื่อจะกู้ยืมนอกอเมริกามากกว่านอกสวีเดน

องค์ประกอบของตลาดการเงินที่ใหญ่นั้นกว้างและหลากหลายมากในตลาดหุ้น การแข่งขันที่มากขึ้นในภาคของธนาคาร และโครงสร้างตลาดการค้าที่โตขึ้น ได้ให้ผลประโยชน์แก่การลงทุนในรูปธรรมในอเมริกา อย่างไรก็ตาม ตลาดการเงินที่ใหญ่ในอังกฤษดูเหมือนจะไม่ค่อยสนับสนุน R&D และความ เปลี่ยนแปลงของเทคโนโลยีเมื่อเทียบกับตลาดเล็กๆ อย่างในสวีเดน